ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
คีตะมวยไทยแอโรบิค
คีตะมวยไทย หรือนาฏมวยไทย เป็นการออกกำลังกายรูปแบบหนึ่งที่มีมานานราว 10ปีแล้ว โดยนำเอาท่าทางของ “แม่ไม้มวยไทย” มาผสมผสานกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิกประกอบกับเสียงเพลงหรือพูดง่ายๆ ก็คือ “แอโรบิกมวยไทย” แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักหรือนิยมในวงกว้างมากนักที่ผ่านมาจะเป็นในรูปแบบของการจัดประกวดระดับนักเรียน เพื่อสืบสานศิลปะมวยไทย
เป็นกิจกรรมที่ผสมผสานระหว่างการเต้นแอโรบิกกับกีฬามวยไทยจัดเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยเรียกเหงื่อและรอยยิ้มได้เป็นอย่างดีมวยไทยแอโรบิคเป็นการนำลักษณะการออกอาวุธของมวยไทย เช่น การออกหมัด การเตะ ฯลฯมาประยุกเป็นท่าเต้นแอโรบิค และเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสนับสนุนและดำเนินการในด้านสุขภาพ ให้กับนักเรียนให้มีสุขภาพทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจให้มีความเป็นอยู่อย่างมีความสุขทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ สังคม อารมณ์ สติปัญญาโดยการให้นักเรียนสามารถดูแลและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสุขภาพตนเองได้ด้วยการออกกำลังกายสร้างสุขภาพเพื่อให้มีสุขภาพพลานมัยดี ซึ่งจะเป็นภูฒิคุ้มกันโรคได้อย่างดี อีกทั้งยังสามารใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ได้อีกทางหนึ่งด้วย
ดังนั้นโรงเรียนวัดบ้านลุ่มจึงจัดทำโครงการวาฃ่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกายด้วยมวยไทยแอโรบิคขึ้นเพื่อตอบสนองหลักการและเหตุผลดังกล่าว
การออกกำลังกายแบบแอโรบิกมวยไทย กำลังเป็นที่สนใจเช่นกัน เนื่องจากผู้ออกแบบท่าได้ประยุกต์ลีลามวยไทยเข้ากับจังหวะ
ต่างจากบอดี้คอมแบต ตรงที่ใส่ลีลาท่าทางมวยไทยแท้เข้าไท่วงท่าลีลาของมวยไทย
เมื่อนำมาประยุกต์กับการเต้นแบบแอโรบิกจะต้องปรับให้เหมาะสม
โดดตัดท่าที่ผาดโผนออกไป เราจึงไม่ได้เห็นนักเต้นแอโรบิกวาดลวดลายจระเข้ฟาดหาง ศอกพุ่ง
หรือหนุมานถวายแหวน มอญแทงกริช เหมือนในเวทีมวยทั่วไป ” วนิดา
พันธ์สะอาด วิทยากรแอโรบิกมวยไทย กล่าว
ท่าแอโรบิกมวยไทยจะใช้ หมัด ในท่าตรง งัด ตวัด เสย , ศอก ในท่าตี
ตวัด งัด กระทุ้ง คว้างหลัง , เข่า ในท่าเตะตรง และเตะเฉียง
และส่วนปลายเท้าที่ส่งไปทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
โดยเริ่มจากการอุ่นเครื่องฟุตเวิร์ก ก่อนทำแอโรบิกทุกครั้ง
ท่าออกหมัด ศอก และเข่า เมื่อประยุกต์เป็นท่าแอโรบิก
จะต้องคำนึกถึงจุดล็อกกล้ามเนื้อ เช่นเหวี่ยงข้อศอกออกไปข้างลำตัว
และหยุดค้างไว้สักครู่ เพื่อลดอาการกระตุก กระชาก จากการเหวี่ยงแบบสุดแรง
จนทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อฉีกได้
“คนส่วนใหญ่ที่เล่นแอโรบิกมวยไทย
เป็นผู้ที่ต้องการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย เพื่อลดอาการเจ็บปวด บริเวณ
หลัง หัวไหล่และขา โดยเฉพาะผู้สูงวัย แต่อาจจะไม่ได้ผล
หากต้องการแอโรบิกเพื่อลดน้ำหนัก เนื่องจากต้องทำเป็นประจำ ค่อยเป็นค่อยไป
ทำให้เห็นผลช้า เมื่อเทียบกับการออกกำลังกายชนิดอื่น” วิทยากร
ให้ความเห็น
อย่างไรก็ตามการฝึกแอโรบิกอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ความหนักของการออกกำลังกายอยู่ในระดับเหนื่อยปานกลาง หรืออัตราการเต้นของหัวใจสำรองอยู่ที่ 60-80 เปอร์เซ็นต์ ครั้งละ 20-30 นาที เช่น หมัด ศอก เข่า แตะ ขณะที่บอดี้คอมแบต มีลีลาคล้ายมวยสากล คือใช้หมัดมากกว่า
แหล่งอ้างอิง:
https://mgronline.com/qol/detail/9620000074482
https://www.gotoknow.org/posts/473983
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น